พระถังซัมจั๋งผู้บันทึกอารยธรรมโลกบนเส้นทางสายไหม (Xuan Zang or Hieun Tsang)

Image

หากเอ่ยชื่อของพระถังซัมจั๋ง หลายต่อหลายคนคงยากที่จะปฏิเสธว่าไม่เคยได้ยินชื่อเสียงของพระรูปนี้มาก่อน เพราะเรื่องราวการเดินทางสู่ชมพูทวีปของท่านพร้อมกับลูกศิษย์ทั้งสามหรือที่เราคุ้นเคยจากเรื่อง “ไซอิ๋ว” ถูกถ่ายทอดมาให้เราได้รับรู้หลายต่อหลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของหนังสือ ภาพยนตร์ ละครโทรทัศน์ หรือแม้กระทั่งการ์ตูน เรื่องราวเหล่านี้ส่วนใหญ่เราจะรับรู้ในเรื่องของปาฏิหาริย์ต่าง ๆ ที่เกินจริงจนบางคนคิดว่าพระถังซัมจั๋งนั้นเป็นเพียงตัวละครในเรื่องไซอิ๋วไม่ได้มีตัวตนในโลกนี้แต่อย่างใด

จริงๆ แล้วพระถังซัมจั๋งเป็นผู้ทรงเสียสละตนเองเพื่อพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง  การเดินทางรวมระยะเวลาเดินทาง 17 ปี ระยะทางการเดินทางทั้งหมดรวมทั้งสิ้น 5 หมื่นลี้ หรือประมาณ 25,000 กิโลเมตร ผ่านหลาย ประเทศ ด้วยม้าและการเดินเท้า นับว่าไม่ง่ายเลย ท่านได้มอบผลงานอันนับว่ามีบุญคุณยิ่งใหญ่ต่อชาวพุทธ สิ่งนั้นคือบันทึกประวัติศาสตร์และธรรม 

ท่านอุทิศตนในการแปลพระคัมภีร์อย่างตั้งใจ ในระยะเวลา 19 ปีท่านได้แปลคัมภีร์ทั้งหมด 75 เรื่อง 1335 ม้วน ครอบคลุมถึงผลงานทั่วไปที่เกี่ยวกับพุทธศาสนาของอินเดียในสมัยศตวรรษที่ 5 นอกจากนี้ ในปั้นปลายชีวิต ท่านอาจารย์ยังได้แปล “พระมหาปรัชญาสูตร” รวม 600 ม้วนซึ่งเป็นพระสูตรเล่มใหญ่ที่สุด

Image

 

พระถัมซัมจั๋งไม่ได้เป็นเพียงตัวละครที่ถูกจินตนาการขึ้นในเรื่องไซอิ๋ว   แต่พระถัมซัมจั๋ง   เป็นบุคคลที่มีตัวตนจริงๆ ที่ปรากฏอยู่ในพงศาวดารจีน  ( นอกจากชื่อพระถังซัมจั๋งแล้ว ยังมีชื่อเรียกในเอกสารต่าง ๆ คือ พระซานจั๋ง หลวงจีนเสวียนจั้ง ฯ  สะกดหลายแบบ Xuan Zang is variously spelled Hsüan Tsang, Hiuen Tsang, Xuanzang, Hiouen Thsang, Hsuan Chwang, Hsien-tsang, etc. ซึ่งทั้งหมดก็คือชื่อของพระถังซัมจั๋งที่เรารู้จักกันดีนั่นเอง ) 

พระถังซัมจั๋ง มีชื่อจริงว่า “ภิกษุเสวียนจั้ง”   เมื่อเกิดมานั้นชื่อว่าเฉินหุยหรือเฉินยี่ เป็นคนมณฑลเหอหนาน มีชีวิตอยู่ในช่วงประมาณ ปี ค.ศ. 602 – ค.ศ. 664 ช่วงชีวิตของเสวียนจั้งคาบเกี่ยวกับสมัยราชวงศ์สุยกับสมัยราชวงศ์ถัง

เสวียนจั้งเกิดมาในตระกูลขุนนางเดิม และเป็นตระกูลที่ทรงความรู้และให้ความสำคัญกับการเล่าเรียนอ่านเขียน เสวียนจั้งเป็นน้องเล็กสุดในบรรดาพี่น้องทั้งหมด 4 คน ทวดของเสวียนจั้งรับราชการเป็นนายอำเภอ ส่วนปู่ของเสวียนจั้งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นปราชญ์ ส่วนบิดาของเสวียนจั้งเป็นนักคิดนักปราชญ์ขงจื้อตามแบบดั้งเดิมที่ลาออกจากตำแหน่งหน้าที่และมาปลีกตัวอยู่อย่างเงียบๆ เพราะเกิดความวุ่นฟวายทางการเมือง

ในวัยเยาว์ เสวียนจั้งเป็นเด็กที่มีความเฉลียวฉลาดมากและฉายแววทางภูมิปัญญามาตั้งแต่เด็กๆ ขยันขันแข็งและกระตือรือร้นในอ่านตำรับตำราทางศาสนา ส่วนใหญ่เป็นตำราเก่าแก่ของจีนและงานเขียนของนักปราชญ์ยุคโบราณของจีน ถึงแม้ว่าจะในวัยต้นๆ จะได้รับการศึกษาตามแบบขงจื้อก็ตาม ผู้ที่ให้การศึกษาตามแบบขงจื้อให้แก่เสวียนจั้งและพี่น้องชายหญิงก็คือบิดาของพวกเขานั่นเอง แต่เสวียนจั้งนั้นมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง เพราะพี่ชายของเสวียนจั้งผู้หนึ่งก็อุปสมบทเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา

Image

เมื่อบิดาของเสวียนจั้งเสียชีวิตลงในปี ค.ศ. 611 เสวียนจั้งไปอาศัยอยู่กับพี่ชายที่บวชเป็นพระภิกษุที่วัดชิงตู (Jingtu Monastery – 淨土寺) ตั้งอยู่ในเมืองลั่วหยัง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของมลฑลเหอหนาน อันเป็นเมืองในอาณัติของราชวงศ์สุย โดยเสวียนจั้งอาศัยอยู่ที่วัดแห่งนั้นศัยอยู่กับพี่ชายที่บวชเป็นพระภิกษุที่วัดชิงตู (Jingtu Monastery – 淨土寺) ตั้งอยู่ในเมืองลั่วหยัง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของมลฑลเหอหนาน อันเป็นเมืองในอาณัติของราชวงศ์สุย โดยเสวียนจั้งอาศัยอยู่ที่วัดแห่งนั้นนาน 5 ปี โดยระหว่างนั้นก็ศึกษาหาความรู้ทางศาสนาพุทธแบบมหายาน เมื่อมีอายุได้เพียง 11 ปีเสวียนจั้งสามารถสวดพระคัมภีร์ได้ พอมีอายุได้เพียง 13 ปีจึงทำการบรรพชาเป็นสามเณร

เมื่อมีอายุได้ 18 พรรษาท่านจึงกลายเป็นสามเณรที่มีชื่อเสียงมาก ได้รับการยกย่องว่าเป็น “อาจารย์แห่งพระไตรปิฎก” เพราะท่านเป็นผู้มีความแตกฉานในสุคคันตปิฎก วินัยปิฎก และอภิธรรมปิฎก และยึดมั่นในปรัชญาของพระพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัด อีกทั้งยังสามารถแสดงธรรมเทศนาที่เข้าใจง่าย

ในปี ค.ศ. 618 เมื่อเกิดความวุ่นวายและการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของจีน เพราะเวลานั้นเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านจากรัชสมัยจากราชวงศ์สุยไปเป็นราชวงศ์ถัง ซึ่งราชวงศ์สุยล่มสลายลง สามเณรเสวียนจั้งกับพระภิกษุพี่ชายจึงหนีไปอยู่ที่เมืองเฉิงตูที่ตั้งอยู่ในมณฑลเสฉวนและในขณะที่บรรพชาเป็นสามเณร สามเณรเสวียนจั้งก็ออกเดินทางเพื่อไปกราบไหว้พระภิกษุสงฆ์ที่มีชื่อเสียงตามที่ต่างๆ ทั่วอาณาจักรจีน และเพื่อไปศึกษาหาความรู้จากตำราทางศาสนาพุทธที่กระจัดกระจายกันอยู่ตามที่ต่างๆ โดยได้หมั่นศึกษาพระธรรมคัมภีร์จนท่านกลายเป็นสามเณรที่มีความสามารถในการแสดงธรรมเป็นอย่างมาก

ในปี ค.ศ. 622 เมื่อมีอายุได้ 20 ปี ท่านอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่เมืองเฉิงตู ท่านเที่ยวเดินทางศึกษาพระธรรมไปทั่วจนเดินทางไปถึงเมืองฉางอัน พระเจ้าถังไท่จงฮ่องเต้องค์ที่ 2 ของราชวงศ์ถัง พอเรียนรู้พระคัมภีร์มากเข้า พระภิกษุเสวียนจั้งก็รู้สึกว่าพระคัมภีร์ที่มีอยู่ในจีนเวลานั้นไม่ค่อยเพียงพอ เนื้อความแปลได้ไม่ครบถ้วนและตีความไม่ถูกต้อง

Image

 

ท่านสังเกตเห็นว่าแม้คัมภีร์เพียงหนึ่งเล่ม กลับมีคนแปลไปในความหมายที่แตกต่างส่วนใหญ่ เนื้อหามักจะขัดแย้งซึ่งกันและกัน ไม่มีตำราเล่มไหนจะเป็นมาตรฐานในการศึกษาได้เลย ท่านจึงปรารถนาที่จะศึกษาพระพุทธศาสนาให้ถ่องแท้ลึกซึ้งและถูกต้องมากกว่านี้ ท่านจึงเกิดความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะเดินทางไปศึกษาพระธรรมที่อินเดียอันเป็นแหล่งต้นกำเนิดดั้งเดิมของพระพุทธศาสนา

ที่เมืองฉางอัน ภิกษุเสวียนจั้งพยายามเล่าเรียนภาษาสันสกฤตและศึกษาพระธรรมมากขึ้น เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมที่จะเดินทางไปศึกษาพระธรรมที่อินเดีย พอปี ค.ศ. 626 ก็เรียนรู้จนเกิดความเชี่ยวชาญชำนาญในภาษาสันสกฤต

ในปี ค.ศ. 627 พระภิกษุเสวียนจั้งตัดสินใจออกเดินทางไปแสวงธรรมและศึกษาพระธรรมที่มหาวิทยาลัยนาลันทา ที่อินเดีย จุดที่ท่านเริ่มออกเดินทางคือเมืองฉางอัน ขณะนั้นวิทยาลัยนาลันทาถือว่าเป็นแหล่งศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนาที่มีชื่อเสียงและกิตติศัพท์อันเลื่องลือมาก เหมือนชะตากรรมได้ชักนำไว้แล้ว พระศีลภัทร ซึ่งเป็นพระอธิการบดีของมหาวิทยาลัยนาลันทา เสด็จมาเยือนฉางอัน และได้พบกับพระถังซัมจั๋ง เมื่อทราบถึงความตั้งใจของพระถังซัมจั๋งแล้ว ท่านจึงกล่าวเอาไว้ว่า “การที่ท่านจะได้เรียนรู้ความหมายของพระธรรมอันศักสิทธิ์อย่างแท้จริง ท่านควรจะมาเรียนที่มหาวิทยาลัยนาลันทาแห่งนี้ โดยเราจะเป็นพระอาจารย์ผู้ฝึกสอนท่านด้วยตัวเราเอง”

Image

 

พระภิกษุเสวียนจั้งมีผู้คุ้มกันพระภิกษุเดินทางไปด้วย ณ เวลานั้นพระเจ้าถังไท่จงห้ามมิให้ผู้คนในอาณาจักรเดินทางไปดินแดนภายนอก เพราะเวลานั้นราชวงศ์ถังกำลังทำสงครามกับพวกเติร์กตะวันออกอยู่ และทรงมีราชโองการให้ปิดเส้นทางการเดินทางสู่ตะวันตกเอาไว้ โดยอนุญาตให้ชาวต่างชาติและขบวนสินค้าผ่านได้เท่านั้น [โดยบัญญัติไว้ว่า หากผู้ใดฝ่าฝืนกฏนี้ จะต้องโทษถึงขั้นประหารชีวิต] 

กฎนี้ทำให้พระสงฆ์มากมายที่ต้องการจะเดินทางสู่ตะวันตกต้องหยุดความตั้งใจเอาไว้ แต่พระถังซัมจั๋งท่านเห็นว่า อุปสรรคเพียงเท่านี้ไม่สามารถจะเปลี่ยนความตั้งใจท่านได้ 

พระภิกษุเสวียนจั้งและคณะลอบเดินทางออกจากอาณาจักรผ่านทางเมืองเหลียงโจวของ มณฑลกานซู่และผ่านไปทางมณฑลชิงไห่ ต่อจากนั้นก็เดินทางผ่านทะเลทรายโกบีไปที่เมืองคูมุลหรือเมืองฮามิที่ปัจจุบันอยู่ในมณฑลซินเจียง ทะเลทรายโกบีขึ้นชื่อในเรื่องที่เป็นแหล่งที่ฝังร่างของนักเดินทางจำนวนมากมาย เนื่องจากในเวลากลางวันทะเลทรายแห่งนี้จะมีอุณหภูมิสูงมาก แต่พอในเวลากลางคืนกลับหนาวมาก และนอกจากอากาศที่เลวร้ายอยู่แล้วยังเป็นแหล่งที่ขาดแหล่งน้ำและแหล่งอาหาร

[เล่ากันว่า ระหว่างทางท่านก็เกือบจะถูกทางการจับไปลงโทษแต่ก็มีญาติธรรมคอยช่วยเหลือท่านอยู่เสมอ อย่างเช่นที่เมืองหนึ่งที่ท่านเดินทางผ่าน หมายจับจากทางการก็มาถึงพร้อม ๆ กัน แต่เจ้าหน้าที่ ที่ปฏิบัติหน้าที่ในเมืองนั้นเป็นผู้มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นอันมาก จึงแกล้งทำเป็นไม่เห็นท่าน ปล่อยให้ท่านสามารถเดินทางต่อไปโดยไม่ถุกจับกุมเสียก่อน]

 

Image

 

แม้ท่านจะสามารถรอดพ้นอันตรายจากทางการมาได้ แต่อันตรายอีกมากก็ยังคงรอท่านอยู่เบื้องหน้า ซึ่งถึงแม้จะไม่ใช่ปีศาจที่จ้องจะกินเนื้อท่านเพื่อความเป็นอมตะตามนิยาย “ไซอิ๋ว” ก็ตาม แต่อันตรายเหล่านั้นก็อันตรายถึงชีวิตท่านโดยไม่แตกต่างกัน อุปสรรคแรกที่รอท่านอยู่คือทะเลทรายโกบีที่มีอุณหภูมิสูงมากในเวลากลางวัน และหนาวจับขั้วหัวใจในยามค่ำคืน อากาศที่เลวร้ายอยู่แล้ว รวมกับการขาดแหล่งน้ำ แหล่งอาหาร ทำให้ทะเลทรายแห่งนี้เป็นที่ฝังร่างของนักเดินทางจำนวนมากมาย กลิ่นอายแห่งความตายอบอวลตลอดทางเดินสู่ตะวันตก ระหว่างทาง ท่านพบเห็นโครงกระดูก ซากพระพุทธรูปมากมาย ซึ่งท่านก็ทราบดีแก่ใจว่า เขาเหล่านี้คือผู้ที่ต้องการจะแสวงบุญไปยังดินแดนตะวันตกเช่นเดียวกับท่านนั่นเอง

ระหว่างทะเลทรายก็มีป้อมตรวจการของทางการอยู่อีก ซึ่งพวกทหารได้รับคำสั่งมาว่า ใครก็ตามที่ผ่านมาโดยไม่มีใบผ่าน อนุญาตจากทางการแล้ว ให้ทำการปลิดชีวิตเสีย ซึ่งพระถังซัมจั๋งก็เกือบจะต้องเสียชีวิตลงจากลูกธนูของป้อมเหล่านี้ ท่านทำได้เพียงแต่หนีอย่างสุดชีวิต จนท่านหลงทางกลางทะเลทรายโดยไม่มีอาหารและน้ำดื่ม ในขณะที่ท่านใกล้จะสิ้นลมในวันที่ 5 นั้น ม้าของท่านก็พาท่านไปพบกับโอเอซิสกลางทะเลทรายซึ่งทำให้ท่านมีชีวิตรอดต่อไปได้ อย่างไรก็ตาม ในเหตุการณ์นี้ พระลูกศิษย์ของท่านในภายหลังได้ทำการจดบันทึกไว้ว่า ในวันที่ 5 นั้น พระถังซัมจั๋ง นอนจมอยู่กับทรายรอความตายมาเยือนจากการขาดน้ำ ได้มีชายคนหนึ่งซึ่งมีขนาดเท่ากับยักษ์ มาเรียกท่าน แล้วบอกให้ท่านฝืนใจเดินต่อไปตามทางที่ชายผู้นี้บอก ซึ่งต่อมาก็ได้นำไปพบกับโอเอซิสนี่เอง ซึ่งชายคนนี้ถูกเชื่อว่าเป็นเทพเจ้าแห่งทราย

เมื่อผ่านทะเลทรายโกบีแล้วไปถึงเมืองฮามิ ต่อจากนั้นท่านก็เดินทางผ่านเทือกเขาเทียนซานที่อยู่ทางด้านตะวันตก และพระภิกษุเสวียนจั้งและคณะเดินทางไปถึงเมืองทูร์ฟาน (Turfan) (ปัจจุบันอยู่ในมณฑลซินเจียงในเขตปกครองตนเองของอุยกูร์) เมืองทูร์ฟาน พระภิกษุเสวียนจั้งได้พบกับผู้ปกครองของเมืองนี้ที่นับถือศาสนาพุทธ  จึงได้สั่งให้สามเณรจำนวน 4 รูปพร้อมทั้งพุทธบริษัทอีก 25 คนร่วมทางเพื่อคอยอำนวยความสะดวกให้ท่านด้วย  ซึ่งได้จัดหาเสบียงให้ท่านสามารถเดินทางต่อไปได้ รวมทั้งยังทรงมอบสาส์นรับรอง ทรงมีรับสั่งไว้ว่า ไม่ว่าท่านเดินทางผ่านเมืองใด ให้แสดงสาส์นนี้ แล้วชาวเมืองกับข้าราชการในเมืองนั้นจะรับรองดูแลท่านเป็นอย่างดีอีกด้วย และของมีค่าเพื่อใช้เป็นทุนรอนในการเดินทางให้ติดตัวไปด้วย

Image

 

ท่านเดินทางต่อไปโดยมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตก ระหว่างเส้นทางนั้นย่อมมีโจรผู้ร้ายคอยปล้นสะดมผู้เดินทางผ่านไปผ่านมา ท่านและคณะต้องใช้เส้นทางเลี่ยงโจรผู้ร้าย โดยในระหว่างนั้นท่านได้เดินทางท่องไปตามวัดที่อาณาจักรคูชา (Kucha) ซึ่งเป็นอาณาจักรโบราณที่นับถือศาสนาพุทธและอยู่ในเส้นทางสาขาของเส้นทางสายไหม ท่านและคณะเดินทางผ่านเมืองอักสู (Aksu อยู่ในซินเจียงปัจจุบัน) และวกขึ้นไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือเพื่อข้ามช่องเขาเทียนซานที่ปกคลุมไปด้วยหิมะและน้ำแข็ง เพื่อเดินทางเข้าเขตที่เป็นประเทศคีร์กีซสถานในปัจจุบัน

ในระหว่างการเดินทางนั้น มีอยู่ระยะหนึ่งที่ท่านต้องนำคณะเดินทางผ่านเขาที่ปกคลุมไปด้วยน้ำแข็ง ซึ่งที่นี่นั้น คณะเดินทางของท่านส่วนหนึ่งได้เสียชีวิตลงจากเหตุการณ์หิมะถล่ม บ้างถูกแท่งหิมะแทงจนเสียชีวิต บ้างก็โดนหิมะกลบฝังทั้งเป็น บ้างก็พลัดตกเหว บ้างก็หนาวตาย แต่ท่านมุ่งมั่นว่าไม่ว่าอุปสรรคจะยากเย็น ยิ่งใหญ่เพียงใด ความตั้งใจของท่านก็ไม่อาจจะสั่นคลอนได้

ปราการด่านต่อไปคือทะเลสาบอิสซิก กูล (Issyk Kul) ที่อยู่ทางตอนเหนือของเทือกเขาเทียนซาน ท่านและคณะเดินทางเลียบทะเลสาบนี้ไปจนไปถึงเมืองต็อกมัก (Tokmak ปัจจุบันอยู่ในประเทศอุซเบกิสถาน) ที่อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของทะเลสาบ และได้พบกับข่านแห่งเติร์กตะวันตกที่มีความสัมพันธ์อันดีกับฮ่องเต้แห่งราชวงศ์ถัง ข่านได้จัดงานเลี้ยงรับรองให้กับท่านและคณะหลังจากนั้นก็เดินทางต่อไปทางทิศตะวันตกและจากนั้นก็วกลงไปที่ทิศตะวันตกเฉียงใต้มุ่งหน้าไปที่เมืองทาสเคนท์ (Tashkent ซึ่งปัจจุบันเป็นเมืองหลวงของประเทศอุซเบกิสถาน) จากจุดนี้ไปนั้น ท่านต้องเดินทางข้ามทะเลทรายเพื่อเดินทางไปต่อที่สมาร์คานด์ (Samarkand ปัจจุบันเป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของอุซเบกิซถาน) ที่ตอนนั้นตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของอาณาจักรเปอร์เซีย และได้พบกับวัดร้างมากมาย และท่านได้เทศน์ผู้ปกครองของดินแดนนั้นจนผู้ปกครองอาณาจักรนั้นเกิดความรู้สึกประทับใจมาก

Image

 

ต่อไปคือการมุ่งหน้าลงใต้ คณะของท่านต้องเดินทางข้ามแหลมของเทือกเขาพามีร์ (Pamirs) แล้วเดินทางไปที่แม่น้ำอาร์มู ดาร์ยา (Amu Darya) และเมืองเตเมซ (Termez ปัจจุบันเป็นเองทางตอนใต้ของอุซเบกิสถานติดกับชายแดนอัฟกานิสถาน) ท่านได้พบชุมชนที่มีพระสงฆ์มากกว่าพันคนอยู่ในชุชนแห่งนั้น และต่อไปก็คือการเดินทางไปทางทิศตะวันออกเพื่อผ่านเมืองคุนดุซ (Kunduz ปัจจุบันเป็นเมืองที่อยู่ทางตอนเหนือของอัฟกานิสถาน) และได้รับคำแนะนำให้เดินทางไปต่อยังเมืองบาคห์ (Balkh ในอดีตเป็นเมืองที่มีความสำคัญมากแต่ถูกทำลสยลง และกลายเป็นเมืองเล็กๆ แห่งหนึ่งในอัฟกานิสถาน) เพื่อไปเยี่ยมชมพุทธสถานและพระสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าที่อยู่ในเมืองนั้น และท่านก็ได้พบกับพระสงฆ์จำนวนมาก และท่านก็ได้ทำการศึกษาพระคัมภีร์ที่มีอยู่ที่นี่และได้รบรวมคัมภีร์สำคัญไว้มากมายที่เวลาต่อมาท่านได้แปลไปเป็นภาษาจีน
ท่านเดินทางผ่านเมืองบามยาน (Bamyan ปัจจุบันอยู่ในอัฟกานิสถาน) ตลอดทางท่านได้พบปะกับเหล่าภิกษุสงฆ์ในพระพุทธศาสนา ได้แลกเปลี่ยนความรู้ โต้วาที และได้เยี่ยมชมวัดวาอารามของดินแดนแห่งนั้น แสดงให้เห็นว่าศาสนาพุทธมีความรุ่งเรือง และได้ขยายตัวมีผู้นับมือเป็นจำนวนมากในดินแดนที่เป็นประเทศอัฟกานิสถานในอดีต

คณะของพระภิกษุเสวียนจั้งเดินทางไปถึงเมืองจาลาลาบัด (Jalalabad) และลาห์มาน (Laghman) ซึ่งทั้งสองเมืองอยู่ในเขตของประเทศอัฟกานิสถานในปัจจุบัน และการเดินทางมาถึงเมืองลาห์มานนั้นพระภิกษุเสวียนจั้งถือว่าท่านได้เดินทางมาถึงอินเดียแล้ว

Image

 

ต่อไปคือการมุ่งหน้าลงใต้ คณะของท่านต้องเดินทางข้ามแหลมของเทือกเขาพามีร์ (Pamirs) แล้วเดินทางไปที่แม่น้ำอาร์มู ดาร์ยา (Amu Darya) และเมืองเตเมซ (Termez ปัจจุบันเป็นเองทางตอนใต้ของอุซเบกิสถานติดกับชายแดนอัฟกานิสถาน) ท่านได้พบชุมชนที่มีพระสงฆ์มากกว่าพันคนอยู่ในชุชนแห่งนั้น และต่อไปก็คือการเดินทางไปทางทิศตะวันออกเพื่อผ่านเมืองคุนดุซ (Kunduz ปัจจุบันเป็นเมืองที่อยู่ทางตอนเหนือของอัฟกานิสถาน) และได้รับคำแนะนำให้เดินทางไปต่อยังเมืองบาคห์ (Balkh ในอดีตเป็นเมืองที่มีความสำคัญมากแต่ถูกทำลสยลง และกลายเป็นเมืองเล็กๆ แห่งหนึ่งในอัฟกานิสถาน) เพื่อไปเยี่ยมชมพุทธสถานและพระสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าที่อยู่ในเมืองนั้น และท่านก็ได้พบกับพระสงฆ์จำนวนมาก และท่านก็ได้ทำการศึกษาพระคัมภีร์ที่มีอยู่ที่นี่และได้รบรวมคัมภีร์สำคัญไว้มากมายที่เวลาต่อมาท่านได้แปลไปเป็นภาษาจีน
ท่านเดินทางผ่านเมืองบามยาน (Bamyan ปัจจุบันอยู่ในอัฟกานิสถาน) ตลอดทางท่านได้พบปะกับเหล่าภิกษุสงฆ์ในพระพุทธศาสนา ได้แลกเปลี่ยนความรู้ โต้วาที และได้เยี่ยมชมวัดวาอารามของดินแดนแห่งนั้น แสดงให้เห็นว่าศาสนาพุทธมีความรุ่งเรือง และได้ขยายตัวมีผู้นับมือเป็นจำนวนมากในดินแดนที่เป็นประเทศอัฟกานิสถานในอดีต

คณะของพระภิกษุเสวียนจั้งเดินทางไปถึงเมืองจาลาลาบัด (Jalalabad) และลาห์มาน (Laghman) ซึ่งทั้งสองเมืองอยู่ในเขตของประเทศอัฟกานิสถานในปัจจุบัน และการเดินทางมาถึงเมืองลาห์มานนั้นพระภิกษุเสวียนจั้งถือว่าท่านได้เดินทางมาถึงอินเดียแล้ว

 

Image

 

พระถังซัมจั๋ง เดินทางมาถึงนาลันทา พ.ศ. ๑๓๐๐ (ค.ศ. ๗๕๗) ได้บันทึกไว้ว่า พระเจ้าหรรษวรรธนะ แห่งราชวงศ์คุปตะ พ.ศ. ๑๑๔๙–๑๑๙๑ (ค.ศ. ๖๐๖–๖๔๘) ทรงให้ความอุปถัมภ์อย่างแข็งแรง โดยทรงสร้างกุฏิเป็นโลหะทั้งหลัง ถวายราชทรัพย์ที่ได้จากภาษีหมู่บ้าน ๑๐๐ หมู่ ให้แก่มหาวิทยาลัยทั้งหมด และทรงกำหนดให้ชาวบ้าน ๒๐๐ ครัวเรือน ในหมู่บ้าน คอยดูแลจัดหาข้าวสาร นมเนย ถวายพระภิกษุในมหาวิทยาลัยไม่ให้บกพร่อง

 

Image

 

จะเห็นได้ว่าร่อยรอยบนบันทึกของพระถังซัมจั๋ง แสดงให้พวกเราเห็นว่า ดินแดนเส้นทางสายไหมมีอารยธรรมอันยิ่งใหญ่เพียงใด อย่าปล่อยให้อารยธรรมเหล่านั้นถูกทำลาย ร่วม Save Mes Aynak ได้ที่

http://www.facebook.com/savemesaynakth

 

Leave a comment